Search

กล้าลองกล้าลุย : ข้าวแคบ ภูมิปัญญาอาหารของคนเหนือ - ช่อง 7

cezhentertainment.blogspot.com
กล้าลองกล้าลุยวันนี้ พาไปลุยการทำ "ข้าวแคบ ภูมิปัญญาอาหารของคนเหนือ" ถือเป็นของฝาก และถ้าใครมาทางเหนือ ต้องไม่พลาดที่จะได้ชิม พร้อมกับซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน หน้าตาของข้าวแคบ และวิธีการทำมีอะไรบ้าง ไปติดตามชมพร้อม ๆ กัน ในกล้าลองกล้าลุย

วันนี้กล้าลองกล้าลุย ก็ยังว่าด้วยเรื่องอาหารการกินกันต่อ แผ่นแป้งกลม ๆ สีใส ๆ ที่นำมาย่างไฟหรือทอดจนฟูน่ารับประทานนี้ เชื่อว่าคนเหนือเกือบจะทุกคนรู้จักกันดี เพราะมันเป็นได้ทั้งอาหารหลัก หรือของกินเล่นก็ได้ เป็นภูมิปัญญาอาหารของคนเหนือที่มีมานาน ตั้งแต่ยุคปู่ย่าตายายเลยแหละ

ขออนุญาตเรียกน้ำย่อย กินยั่ว ๆ ตั้งแต่เริ่มเรื่องเลย เราเรียกของอร่อยชนิดนี้ กันติดปากว่า "ข้าวแคบ"

อย่างที่ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อบ้านใบบุญ ตั้งอยู่ในชุมชนไตลื้อ บ้านลวงเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ทันที่ที่เรามาถึงก็ได้รับการต้อนรับอันแสนอบอุ่น จากแม่ครูปุก พรรษา บัวมะลิ และเหล่าบรรดาแม่ ๆ ป้า ๆ ที่น่ารักทุกท่าน ที่นี่ถือเป็นชุมชนต้นแบบในหลายด้าน นอกจากการท่องเที่ยวที่ให้เราได้สัมผัสวิถีชาวบ้านแบบดั้งเดิมของชาวไตลื้อ หรือไทลื้อแล้ว ยังเน้นให้ชาวบ้านมีรายได้ นำสินค้าในท้องถิ่นหรือแปรรูปเองแบบไร้สารเคมี มาจัดจำหน่ายในราคาถูกหลากหลายแบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นที่เป็นของหายาก ทั้งตำบลเหลือคนทำเพียงคนเดียว ก็คือ ข้าวแคบของป้าผัน

เส้นทางของข้าวแคบป้าผัน ปิยวรรณ บุญลา ที่ทำมานานหลายสิบปี จะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ฟ้ายังไม่สว่าง ทุกขั้นตอนกว่าจะนำออกไปขายได้ ป้าผันลงมือทำเอง แทบจะทั้งหมด

สูตรการทำข้าวแคบของป้าผัน ถ้าใครได้มาเที่ยวก็จะเห็นทุกขั้นตอนอย่างละเอียดเลย เพราะป้าไม่หวงสูตร ขอแค่ตื่นเช้าให้ทันก็พอ ข้าวเหนียวที่แช่น้ำไว้ 1 คืน จะถูกนำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วก็นำมาโม่จนละเอียดสองถึงสามรอบ เพื่อให้เหลวเป็นน้ำแป้ง ปรุงรสด้วยเกลือแกงพอประมาณ ผสมกับงาดำที่แช่น้ำไว้ มาคนให้เข้ากัน เป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนสูงหน่อย ค่อย ๆ ทำไปทีละนิด ทำให้เด็กยุคใหม่ไม่ค่อยอยากมาตื่นมาทำซักเท่าไหร่ ซึ่งกว่าจะโม่แป้งเสร็จ ก็ใช้เวลาไปจนเกือบสว่างได้

จากนั้นป้าผันก็จะเริ่มตั้งหม้อข้าวแคบ เป็นกระทะใบใหญ่ เติมน้ำจนเกือบเต็ม ขึงด้านบนด้วยผ้าขาวบาง มัดด้วยเชือกให้แน่นหนา ให้ผ้าตึงมากถึงมากที่สุด พร้อมกับจุดไฟบนเตาแบบดั้งเดิม จากนั้นก็รอเวลาให้น้ำเดือดจัด ๆ ถึงจะเริ่มขั้นตอนการทำข้าวแคบต่อได้ แค่นี้ก็กินเวลาไปจนถึงเช้าเลย

เมื่อน้ำเริ่มเดือดได้ที่ ป้าผันก็จะเริ่มลงมือทำข้าวแคบต่อทันที ขั้นตอนนี้เรียกว่า การราดข้าวแคบ คือตักน้ำแป้งราดลงบนผ้า คล้าย ๆ กับการทำข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การเกลี่ยแป้ง จะทำให้เป็นแผ่นขนาดใหญ่กว่า รอให้สุก สังเกตง่าย ๆ แป้งจะมีสีใสขึ้น ถือว่าเริ่มสุกแล้ว จากนั้นใช้ไม้ไผ่แซะออกมา พยายามอย่าให้หลุดหรือแตกเด็ดขาด ข้าวแคบที่ดีต้องกลม มน ได้รูปที่สวย จากนั้นก็นำมาวางบนตับหญ้าคา เพื่อเอาไปตากแดดอีกที

ป้าผันบอกว่า งานนี้ผมเองต้องฝึกเยอะหน่อย เพราะข้าวแคบที่ได้ยังมีรูปทรงเล็กบ้างใหญ่บ้าง บางทีก็ออกไปทางรี ๆ มากกว่ากลม ซักพักนึงพอจับทางได้ งานนี้เริ่มสนุกล่ะ ที่สำคัญคนทำข้าวแคบจะรู้ดี ชิ้นไหนที่แซะออกมาแล้วแตก หรือพันกัน จะทิ้งก็เสียดาย เลยต้องเอามาชิมดูซะหน่อย

ทำไป อิ่มไป แต่เช้า ป้าผันบอกว่า วันไหนฝนตก ต้องหยุดทำข้าวแคบ เพราะหลังจากนี้จะอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์เป็นหลัก เพื่อให้ข้าวแคบแห้งสนิท

ป้าผันบอกว่า นี่เป็นแผ่นใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยทำมา แนะนำว่าอย่าได้หาทำอีก เพราะเปลืองแป้ง ราคาขายส่งข้าวแคบ ป้าผันบอกว่า ในหนึ่งถุง จะมีอยู่ 4 แผ่น ขายราคา 6 บาทเอง ถือว่าราคาไม่แพง นอกจากจะนำไปขายที่ศูนย์การเรียนรู้แล้ว ก็ยังมีพ่อค้าแม่ขายมารับซื้อถึงบ้าน มีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และการทำแบบดั้งเดิมของชาวไตลื้อนั่นเองครับ นอกจากข้าวแคบที่จะนำไปย่างไฟหรือทอดแล้ว อีกหนึ่งเมนูพิเศษ ที่วันนี้ทางชุมชนได้คิดค้นขึ้นมา และมีให้ชิมเฉพาะที่นี่ ก็คือ ข้าวแคบผัดไทยไตลื้อ

ดูแล้ว น่ากินมาก ๆ เลย

Let's block ads! (Why?)



"แบบดั้งเดิม" - Google News
July 30, 2020 at 09:32AM
https://ift.tt/39D6bDL

กล้าลองกล้าลุย : ข้าวแคบ ภูมิปัญญาอาหารของคนเหนือ - ช่อง 7
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "กล้าลองกล้าลุย : ข้าวแคบ ภูมิปัญญาอาหารของคนเหนือ - ช่อง 7"

Post a Comment

Powered by Blogger.