ไปรษณีย์ไทย ฉลองครบรอบ 137 ปี ยกระดับธุรกิจไปรษณียภัณฑ์ดั้งเดิมสู่ดิจิทัล ชูจุดแข็งการให้บริการภาครัฐเพื่อคนไทยและสังคมไทยพร้อมเดินหน้าให้บริการรูปแบบใหม่รับกระแสอีคอมเมิร์ซเติบโตสูง จับมือพันธมิตรสร้างโอกาสทางธุรกิจ ลั่น ปณท คือ บริษัทขนส่งคนไทยที่ทำเพื่อคนไทย
'คณะกรรมการไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญและได้มอบแนวนโยบายให้ไปรษณีย์ไทยในการรักษาฐานธุรกิจเดิมพร้อมรุกกลุ่มตลาดใหม่ (New S-Curve) ด้วยการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาบริการต่างๆ ให้เป็นดิจิทัลเพื่อให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตประชาชน ผู้ใช้บริการรายย่อย ตลอดจนผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซให้ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งผู้ประกอบการสินค้าชุมชน และเกษตรกร ให้มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางไปรษณีย์ไทยมากขึ้น พร้อมกับการเร่งยกระดับระบบปฏิบัติการไปรษณีย์ด้วยการนำเครื่องจักรอัตโนมัติมาใช้ในทุกกระบวนการทำงานให้มีมาตรฐานบริการได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพบริการที่ดี ยึดหลักธรรมาภิบาลขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปด้วยความมั่นคงและยั่งยืน' รัฐพล ภักดีภูมิ ประธานกรรมการ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าว
ด้วยเหตุนี้ ปณท จึงไม่ได้มีแค่มิติการแข่งขันกับเอกชนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีมิติการบริการภาคสังคมด้วยซึ่งเห็นได้จากที่ผ่านมาไม่ว่านโยบายรัฐบาลต้องการให้ปณท ช่วยเหลือด้านไหน ปณทก็พร้อมจะเดินหน้าให้บริการสังคมอย่างเต็มที่ ท่ามกลางสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งต่างชาติ ปณทเองก็ไม่ได้หยุดพัฒนาบริการที่มั่นใจเชื่อถือได้พร้อมรับประกันได้ว่า ปณท คือ บริษัทขนส่งคนไทยที่ทำเพื่อคนไทย
ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท กล่าวว่า 'ปณท เกิดจากซองคือการส่งจดหมายถึงผู้คน แต่เราโตจากกล่องเพราะโลกเปลี่ยนคนหันมาส่งพัสดุสิ่งของผ่านกล่องมากขึ้น เมื่ออีคอมเมิร์ซโต ปณทก็ต้องปรับตัวด้วย'
พร้อมอธิบายต่อว่า ไปรษณีย์ไทยคือหน่วยงานการสื่อสารและการขนส่งของชาติที่อยู่คู่สังคมไทยมาถึง 137 ปี ดังนั้นปณทจึงอยู่เคียงข้างคนไทยในทุกสถานการณ์ โดยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการช่วยเดินหน้าเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการพัฒนาบริการต่างๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการตอบสนองนโยบายภาครัฐตามภารกิจของปณท ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส)
สำหรับทิศทางและนโยบายการดำเนินงานในอนาคตของปณทนั้น จะพัฒนากลุ่มธุรกิจที่เคยเป็นฐานรายได้หลักคือกลุ่มธุรกิจไปรษณียภัณฑ์ดั้งเดิมประเภทจดหมายไปสู่รูปแบบดิจิทัล โดยจะพัฒนาระบบการจัดการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรให้กับภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน ด้วยความปลอดภัยบนมาตรฐานเดียวกันได้รับการยอมรับเชิงกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตถือเป็นการปรับโฉมบริการดั้งเดิมให้เป็นบริการรูปแบบใหม่ที่จะรักษาฐานรายได้เดิมเอาไว้ ควบคู่กับการสร้างฐานรายได้ใหม่ไปพร้อมกัน
ก่อกิจ กล่าวว่า สำหรับรายได้ครึ่งปีแรก 2563 อยู่ที่ 12,937 ล้านบาทและมีกำไร 865 ล้านบาท ถึงแม้ยังเห็นผลกำไรอยู่แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยอดส่งไปรษณีย์ไปยังต่างประเทศลดลงกว่า 100 ล้านบาท ดังนั้นนับจากนี้ย่อมมีความเป็นไปได้ว่ารายได้ที่คาดไว้ทั้งปีที่ 30,000 ล้านบาท ต้องไม่เป็นดังหวังแน่นอนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด
ปณท จึงต้องลดการลงทุนในสิ่งที่ยังไม่เร่งด่วนเช่นจากเดิมต้องขยายสาขา ก็เน้นปรับปรุงสาขาเก่าแทนการสร้างใหม่ และสร้างใหม่เฉพาะในพื้นที่ที่จำเป็นจริงๆก่อนโดยอาจเปลี่ยนรูปแบบเป็นการเช่าแทนการสร้างเอง เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะลดเงินลงทุนปีนี้ได้ 50% จากที่คาดการณ์ว่าจะลงทุน 3,000 - 4,000 ล้านบาท
***จับมือพันธมิตรสร้างบริการใหม่
แนวทางต่อจากนี้ไป ปณท จะเน้นการทำงานร่วมกับพันธมิตรแทนการเขียนสัญญาจัดซื้อจัดจ้างซึ่งต้องมีกระบวนการนาน โดยเร็วๆนี้จะมีโครงการสร้างตู้ฝากเอกสารชาญฉลาด ในลักษณะคล้ายกับตู้ i-boxเพื่อให้ลูกค้าสามารถมารับเอกสารในตู้ดังกล่าวแทนการเดินทางไปรับที่ทำการไปรษณีย์ ในกรณีที่พนักงานไปรษณีย์จัดส่งให้ลูกค้าแล้วไม่อยู่บ้าน
ตู้ดังกล่าวต้องมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บของ เช่น สามารถเก็บยาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการทำงานร่วมกับองค์การเภสัชกรรมหรือโรงพยาบาลในการจัดส่งยาให้ลูกค้าไปรับที่ตู้ แทนการไปโรงพยาบาล เป็นต้นซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างสัญญาจ้างที่ปรึกษา คาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาภายในเดือนก.ย.นี้ เพื่อทำหน้าที่วางแผนการบริหารจัดการโครงการให้มีตู้ดังกล่าว 30,000 ตู้ ภายใน 3 ปี ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการภายในกลางปีหน้า
'เนื่องจากสถานพยาบาลต่างๆมีความต้องการบริการรูปแบบนี้จำนวนมาก เพื่อลดการมาโรงพยาบาล และให้สามารถไปรับยาใกล้บ้านได้สะดวกซึ่งตู้ฝากยานี้อาจจะตั้งอยู่ในพื้นที่ปณท พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)หรือพื้นที่หน่วยงานรัฐ'
นอกจากนี้ ปณทกำลังจะมีโครงการร่วมกับธนาคารกรุงไทย ในการเป็นตัวกลางเพื่อรับชำระค่าภาษีโรงเรือนให้กับประชาชนแทนการเดินทางไปชำระเองที่สำนักงานเขตรวมถึงจะเป็นตัวแทนจำหน่ายโปรแกรมออฟฟิศ 365ของไมโครซอฟท์ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถหาซื้อโปรแกรมได้สะดวกกว่าการตั้งงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างเอง
จากนี้ไป ปณท จะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มศักยภาพการบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น จะมีการทำงานร่วมกับธนาคารพาณิชย์ในการเป็นตัวแทนธนาคารให้บริการรับฝาก-ถอนเงินอนาคตจะมีการร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้บริการยืนยันตัวตน (KYC) แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการเปิดบัญชีเงินฝาก ณ เคาน์เตอร์บริการไปรษณีย์ทั่วประเทศ
***ดัน 'ปณท ดบ.' หนุนโลจิสติกส์
นอกจากนี้ จากปัจจัยการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กลุ่มธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์นับว่าเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ปณทยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งรูปแบบบริการและคุณภาพบริการ ทั้งการขนส่งในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนั้น ปณทต้องนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ อย่างการปรับปรุงรถยนต์ขนส่งให้เป็นรถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาคุณภาพของสิ่งของฝากส่งไม่ให้เสียหายระหว่างทาง เพื่อรองรับการจัดส่งผลผลิตทางการเกษตรที่มีปริมาณมากขึ้นในปัจจุบันซึ่งเป็นการสนองนโยบายของรัฐในการแก้ไขปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกรผ่านไปรษณีย์ และเว็บไซต์ thailandpostmartรวมทั้งใช้ความเชี่ยวชาญของบริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด หรือ ปณท ดบ.ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปณทมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการส่งสิ่งของขนาดใหญ่ (G2G/B2B) การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า การนำจ่ายถึงบ้าน และการส่งคืนสินค้าให้ผู้ฝาก
'เราจะมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของคนไปรษณีย์ไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการบูรณาการทำงาน สร้างบริการที่สามารถรองรับความต้องการผู้ใช้บริการทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และพร้อมเดินหน้าพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อเป็นผู้ให้บริการสื่อสารและขนส่งโลจิสติกส์ที่คนไทยจะไว้วางใจได้เสมอ' ก่อกิจ กล่าวสรุป
"แบบดั้งเดิม" - Google News
August 13, 2020 at 08:23AM
https://ift.tt/2PKsgXR
'ไปรษณีย์ไทย' ลั่นบริษัทขนส่งคนไทยเพื่อคนไทย - ผู้จัดการออนไลน์
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'ไปรษณีย์ไทย' ลั่นบริษัทขนส่งคนไทยเพื่อคนไทย - ผู้จัดการออนไลน์"
Post a Comment