Search

จุฬาฯ ร่วมตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล” รวมองค์ความรู้-งานดิจิทัลอาร์ตนานาชาติ - สยามรัฐ

cezhentertainment.blogspot.com

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ และปิโก (ไทยแลนด์) จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล” หรือ FAAMAI Digital Arts Hub เป็นศูนย์รวม องค์ความรู้ด้านดิจิทัลอาร์ตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผนวกองค์ความรู้ด้านศิลปะ และเทคโนโลยีด้านดิจิทัล สร้างกระแสตื่นตัวด้านดิจิทัลอาร์ตให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เร่งสร้างคน เติมเต็มความต้องการบุคลากรด้านดิจิทัลอาร์ตที่กำลังขาดแคลนทั่วโลก

จนัธ เที่ยงสุรินทร์ ผู้อํานวยการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือ FAAMAI Digital Arts Hub เปิดเผยว่า “ดิจิทัลอาร์ตคือการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปิน ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี ในบางครั้ง ยังรวมผู้ชมเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานได้อีกด้วย เทคโนโลยีดิจิทัลได้เปิดพรมแดนศิลปะแบบใหม่ให้ทั้ง ตัวศิลปินและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ซึ่งศิลปะแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ ในประเทศไทยดิจิทัลอาร์ตเป็นสาขาวิชาที่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างงานในลักษณะข้ามสาขา ไม่ว่าจะเป็นงานด้านภาพ เสียง หรือศิลปะการแสดง

จนัธ กล่าวว่า โครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือ FAAMAI (Fine and Applied Arts Multidisciplinary Art Innovation Program) ริเริ่มโดยคณาจารย์ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนและความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ กองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) ภายใต้การดูแลของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงนามความตกลงความร่วมมือกับสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ซึ่งให้ความอนุเคราะห์เรื่องสถานที่ตั้ง ณ บริเวณพื้นที่ด้านข้างอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐาน และบริษัทปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องโครงสร้างโดมยักษ์ FAAMAI Dome ซึ่งเป็นโดมเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 เมตร ความสูง 17.5 เมตร เป็นโดมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเอเชียแปซิฟิก ตั้งอยู่ด้านหลังอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผสานกับผลงานศิลปะ ทำให้ดิจิทัลอาร์ตน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัลอาร์ตผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการประกวด และเวิร์คช็อปต่างๆ

“FAAMAI Digital Arts Hub เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ และงานด้านดิจิทัลอาร์ตของนิสิต นักศึกษา นักวิจัย ศิลปินไทยและต่างประเทศ ตลอดจนบุคคลทั่วไป เพื่อพัฒนาศักยภาพของนิสิตและคณาจารย์ในด้านดิจิทัลอาร์ตให้ทัดเทียมระดับนานาชาติ ทั้งในแง่การสร้างสรรค์ผลงานและความรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ในระยะยาวก่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศนอกจากกิจกรรมทางศิลปะแล้ว พื้นที่นี้ยังเปิดให้บริการแก่หน่วยงานและองค์กรภายนอก เพื่อใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น นิทรรศการ อีเว้นท์ งานประชุม ฯลฯ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้างภาพลักษณ์ให้สินค้าและบริการให้มีความเป็นนวัตกรรม ตื่นเต้น และทันสมัย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมในชุมชน สร้างความตื่นตัวและสีสัน สร้างการมีส่วนร่วมและความภาคภูมิใจให้คนในชุมชน ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับร้านค้าในชุมชนอีกด้วย” ผู้อำนวยการโครงการฯ กล่าวเสริม

ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะฯ มีพันธกิจในการผลิตศิลปินบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญด้านทักษะและความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้ริเริ่ม บุกเบิก แสวงหา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสังคมไทยสืบไป

“เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล เราจึงควรใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิทัลในมิติของการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนให้เต็มที่ ซึ่งแต่ละชุมชนก็จะมีศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์เป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อเกิดดิจิทัลอาร์ตขึ้นจะช่วยให้ง่ายต่อการสร้างการรับรู้ การส่งต่อและเผยแพร่ศิลปะในวงกว้าง ในขณะเดียวกันยังช่วยเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างความรื่นรมย์ผ่อนคลาย ตลอดจนสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชนอีกด้วย” ศ.ดร.บุษกร กล่าว

ศ.ดร.บุษกร กล่าวเพิ่มเติมว่า บุคลากรและศิลปินด้านดิจิทัลอาร์ตแขนงต่างๆ ในประเทศไทยถือว่ายังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่เราก็มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับโลกด้วยเช่นกัน ดังนั้นในฐานะที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นแหล่งบ่มเพาะและสร้างศิลปินแขนงต่างๆ จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวด้านดิจิทัลอาร์ตในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะศาสตร์ด้านนี้จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อโลกของเรา หากสามารถพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ได้ ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันนักเรียน นิสิตนักศึกษาให้ความสนใจเข้ามาเรียนเกี่ยวกับดิจิทัลอาร์ตเพิ่มมากขึ้น เพราะคนไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบุคลากรที่มีความสามารถและศักยภาพสูง ดังนั้นหากเรายิ่งกระตุ้นให้เยาวชนไทยเห็นความสำคัญของดิจิทัลอาร์ต เราก็จะมีบุคลากรและศิลปินที่เข้ามาทำงานในตลาดดิจิทัลอาร์ตเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงมุ่งสร้างพันธมิตรและเครือข่ายทั้งกับภาครัฐและเอกชน รวมทั้งระดับสากลมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดจนศิลปินผู้ผลิตผลงานดิจิทัลอาร์ต โดยร่วมมือกับ Bauhaus University มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านดิจิทัลอาร์ตระดับโลก วางแผนร่วมจัดเวิร์คช็อป ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้นิสิตนักศึกษาและบุคลากรของไทย

สำหรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไปในศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล จะเป็นโครงการประกวด “FAAMAI Digital Arts Competition 2020” ในหัวข้อ “New World” (Covid-19, Expectation of New Generation, Global warming, Digital disruption, Generation Gap) จัดการแข่งขันในระดับเยาวชน และระดับอุดมศึกษาอายุไม่เกิน 25 ปี โดยสามารถเลือกส่งผลงานเข้าประกวดได้ 3 ประเภท ได้แก่ Creative Coding, Film & Animation และ Interdisciplinary Art ชิงถ้วยรางวัล ประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ และ Adobe License ผู้สนใจสามารถสมัคร และส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่ 3 กันยายน – 31 ตุลาคม 2563

สนใจกิจกรรมและข่าวสารต่างๆ ของ FAAMAI Digital Arts Hub สามารถติดตามได้ที่ www.chulafaamai.com และ Facebook: Faamai Digital Arts Hub และ IG: faamai_digital_cu

Let's block ads! (Why?)



"แบบดั้งเดิม" - Google News
August 28, 2020 at 08:40AM
https://ift.tt/2QyWGfU

จุฬาฯ ร่วมตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล” รวมองค์ความรู้-งานดิจิทัลอาร์ตนานาชาติ - สยามรัฐ
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "จุฬาฯ ร่วมตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล” รวมองค์ความรู้-งานดิจิทัลอาร์ตนานาชาติ - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.