Search

กล้าลองกล้าลุย : หมูทุบสิงห์บุรี ของดีจากภูมิปัญญา ตอน 2 - ช่อง 7

cezhentertainment.blogspot.com
กล้าลองกล้าลุย วันนี้ คุณต้นกล้า ชัยอนันต์ ยังอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี ไปลุยเบื้องหลังการทำ หมูทุบสิงห์บุรี ของดีจากภูมิปัญญา อย่างที่ร้านหมูทุบดวงยี่หวา เขาสวนกระแส ถึงแม้เนื้อหมูราคาแพง แต่ยังคงเน้นคุณภาพและความอร่อยเหมือนเดิม วันนี้ตามกันต่อ ขั้นตอนการทำ กว่าจะเป็นหมูทุบ เขาทำกันอย่างไรบ้าง ไปติดตามชมพร้อม ๆ กัน

วันนี้ กล้าลองกล้าลุย พร้อมกับทีมงาน เรายังอยู่กันที่ ร้านหมูทุบดวงยี่หวา ของ พี่นุช ฤดี บุญมาก ในตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี จากหมูที่ผมเองอยู่เป็นลูกมือ ช่วยแล่ และผ่านการหมักจนได้ที่แล้ว จากนี้เราก็จะนำมาตากแดดต่อ เทคนิคของการเรียงหมูบนตะแกรง พี่ ๆ เขาบอกว่าจะต้องคลี่เนื้อหมูออกให้เป็นแผ่นสวยงาม ห้ามวางซ้อนทับกัน หรือพับงอเด็ดขาด เพื่อให้หมูโดนแดดได้ทั่วถึง และแห้งสม่ำเสมอกัน

อย่างวันนี้ เราเร่งมือทำหมูทุบกันเบา ๆ ตากบนตะแกรงตั้งแต่เช้า ที่ไม่กี่ร้อยกิโลกรัมเอง

เทคนิคสำคัญอีกอย่างคือ หมูที่ตากห้ามให้โดนฝนเด็ดขาด ดังนั้นวันที่จะทำหมูทุบ และเอามาตากแบบนี้ จึงต้องดูฝนฟ้าอากาศให้ดี ที่นี่เขาเน้นใช้แสงธรรมชาติ เพื่อรักษารสชาติของหมูเอาไว้ ตามภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมที่ทำกันมานาน

จากหมูหมักที่ตากไว้ได้ครึ่งวัน ตอนนี้เริ่มแห้ง แข็ง และเปลี่ยนสีอย่างเห็นได้ชัด จากนี้คนงานก็จะทยอยยกตะแกรงทั้งหมดมารวมกัน และช่วยกันกลับด้านเพื่อให้รับแสงแดดในช่วงบ่ายได้อย่างทั่วถึง จะได้แห้งทั้งแผ่นเหมือนกันหมด

หมูที่ตากแดดจนแห้ง ประมาณแดดครึ่ง หรือ 1 วันครึ่งขึ้นไป จากนี้ก็จะนำไปอบ สมัยก่อนใช้เตาถ่าน คอยอบทีละแผ่น 2 แผ่น กว่าจะเสร็จก็ใช้เวลากันหลายวัน ทุกวันนี้มีเครื่องอบคอยทุ่นแรง และอบได้ทีละมาก ๆ

ผมช่วยทุบไปได้ไม่เท่าไหร่ก็เหนื่อย เมื่อยแขน ปวดหลังปวดเอวแล้ว รู้เลยว่าภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อน เขาทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ บวกกับความอดทน ที่กว่าจะทุบหมูออกมาได้ ใช้เวลาต่อชิ้นเกือบ 10 นาทีได้เลย แต่ปัจจุบันเพื่อทันต่อความต้องการของผู้บริโภค เขาจะใช้เครื่องนี้เป็นเครื่องทุ่นแรง รีดหมูให้ออกมาเป็นแผ่น มีลักษณะเหมือนหมูทุบ ชนิดที่แยกไม่ออก อันไหนใช้มือทุบ อันไหนใช้เครื่องทำ ระวังอย่างเดียวก็คืออย่าให้เครื่องนี้หนีบนิ้วหนีบมือเด็ดขาด ไม่งั้นต้องเรียกกู้ภัยอย่างเดียว

ผมเองหลังจากที่ลองฝึกอยู่นานสองนาน คราวนี้ขอเป็นผู้ช่วยรีดหมูทุบดูซะหน่อย แต่ดูจากแววในการทำงานแล้ว น่าจะไม่ถนัดสักเท่าไหร่ เพราะทำหมูทุบของพี่นุชเสียไปหลายชิ้น

นี่แหละ งานถนัดของผม ค่าแรงของคนรับจ้างรีดหมูให้เป็นแผ่น จะเริ่มต้นที่ 320 บาทต่อวัน ยังไม่รวมโอทีและความขยัน ยิ่งช่วงเทศกาลทำกันแทบจะไม่ทัน เพราะมีออเดอร์เข้ามาเยอะมาก หมูทุบของพี่นุช ฤดี นอกจากจะอร่อยแล้ว ยังสะอาด ตั้งแต่ขั้นตอนการทำ ไปจนถึงตะแกรงที่ใช้ตาก ทุกสัปดาห์จะจ้างคนมาล้างทำความสะอาด 2 ครั้ง ต้องขัดเอาเศษหมูที่ติดตามซอกต่าง ๆ ออกให้เกลี้ยง จะได้ค่าจ้างตะแกรงละ 10 บาท ต้นทุนของการทำหมูทุบทุกวันนี้ คงเห็นแล้วว่ามีอะไรบ้าง ไหนจะค่าแรง และหมูที่แพงขึ้นทุกวัน ๆ ถ้าคำนวณดูแล้ว หมู 2.5 กิโลกรัม จะได้หมูทุบ ไม่เกิน 1 กิโลกรัมเอง ผมลองคำนวณดูแล้ว ต้นทุนก็ปาเข้าไปปริ่ม ๆ เกือบ 500 บาท แต่พี่นุชบอกว่ายังขายราคาเดิม ไม่มีการขึ้นราคา

หมูทุบสิงห์บุรี ของดีจากภูมิปัญญา ถึงจะเจอกับต้นทุนที่สูงลิ่ว แต่ถ้ามีคนช่วยอุดหนุน ก็จะทำให้ของขึ้นชื่อของที่นี่ยังคงอยู่ได้อีกยาวนาน

Let's block ads! (Why?)



"แบบดั้งเดิม" - Google News
July 23, 2020 at 10:02AM
https://ift.tt/2BljTya

กล้าลองกล้าลุย : หมูทุบสิงห์บุรี ของดีจากภูมิปัญญา ตอน 2 - ช่อง 7
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "กล้าลองกล้าลุย : หมูทุบสิงห์บุรี ของดีจากภูมิปัญญา ตอน 2 - ช่อง 7"

Post a Comment

Powered by Blogger.