Search

กลองสะบัดชัย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมศิลปะการแสดง พ่อครูมงคล เสียงชารี - เชียงไหม่นิวส์

cezhentertainment.blogspot.com

ก๋องสะบัดไจย… เมื่อถูกตีลงบนผืนหนังส่งพลังเสียงดัง สนั่นปลุกขวัญกำลังใจป้อจายฮึกเหิมเข้มแข็งในยามสู้รบออกศึก และ อ่อนช้อย อ่อนหวานในเมื่อให้จังหวะฟ้อนรำของแม่หญิงที่งดงาม ด้วยศาสตร์และศิลป์อีกทั้งปรัชญา ศาสนา ที่แฝงอยู่ในจังหวะของ “กลองสะบัดชัย” มิติลี้ลับมากมายที่อยู่ในกลองเราจะร่วมเรียนรู้ พ่อครูกลอง พ่อครูมงคล เสียงชารี ศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย อำเภอดอยสะเก็ด

กลองสะบัดชัย เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีของชาวล้านนา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ เนื่องจากถูกนำไปใช้จัดแสดงในพิธีกรรม และกิจกรรมต่างๆ กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีพัฒนาการมาจาก กลองชัย หรือ ก๋องไจยะ หรือ ก๋องไจยะมังกะละ ของชาวล้านนา ซึ่งถือว่าเป็นกลองสำคัญประจำเมืองหรือหมู่บ้าน มีหน้าที่หลัก 3

1) ใช้ตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกเหตุ

2) ใช้ตีเพื่อเป็นสัญญาณบอกวันโกนและตีถวายพุทธบูชา

3) ใช้ตีเป็นมหรสพในงานบุญของวัด

ปัจจุบันพ่อครูมงคล เสียงชารี ศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย พื้นบ้านล้านนา เลขที่ 86/1 หมู่ที่ 4 ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญโดยมีการถ่ายทอดและสืบทอดองค์ความรู้ กลองสะบัดชัย จากรุ่นสู่รุ่น จากพ่อครูสู่ลูกศิษย์ และลูกศิษย์ได้นำไปเผยแพร่ขยายเครือข่าย ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน รวมทั้งการหน่วยงานต่าง ๆ เห็นถึงความสำคัญจึงถ่ายทอดผ่านการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ประกอบกับการสนับสนุนและส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ด้วยการจัดการแข่งขันการตีกลองสะบัดชัย จึงทำให้เกิดการอนุรักษ์ และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าว

ผลของการสืบสานถ่ายทอดความรู้เรื่องการตีกลองสะบัดชัย ส่งผลให้ กลองสะบัดชัย ถูกประยุกต์ให้เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งในรูปแบบการแสดงในพิธีเปิด การใช้เป็นสัญลักษณ์ในการให้อาณัติสัญญาณในกิจกรรมที่เป็นมงคล รวมถึงถูกสร้างสรรค์ให้เป็นการแสดงสำคัญของชาวล้านนา และปรับรูปแบบสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปแบบต่างๆ และอาจกล่าวได้ว่า กลองสะบัดชัยเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของชาวล้านนา ซึ่งเป็นที่รับรู้ในระดับสากล

ทั้งนี้การสร้างคุณค่าใหม่ของกลองสะบัดชัย ถือเป็นภัยคุกคามที่ทำให้คุณค่าดั้งเดิม และรูปแบบการแสดงแบบดั้งเดิมถูกทดแทนด้วยรูปแบบการแสดงที่มีความพิสดารและตื่นเต้น เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ชม โดยชุมชนเห็นว่า ควรมีการรักษาไว้ซึ่งจิตวิญญาณดั้งเดิมของกลองสะบัดชัย ด้วยการเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ด้วยการอนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตกลองสะบัดชัยแบบดั้งเดิม พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตและการแสดง ตลอดจนรูปแบบการแสดงแบบดั้งเดิม ทั้งนี้ เพราะองค์ความรู้ดังกล่าวเป็นความรู้ในตัวบุคคล จึงทำให้องค์ความรู้สูญหายไปกาลเวลา ซึ่งการเก็บรักษาองค์ความรู้อย่างเป็นระบบจะเป็นวิธีการหนึ่งในการอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปะการตีกลองสะบัดชัย เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาถึงความดั้งเดิม (แบบเบ้า) ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมปัจจุบัน

พ่อครูมงคล เสียงชารี ศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้านล้านนา เป็นศูนย์เรียนรู้ที่ทรงคุณค่าถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบถ่ายทอดให้เข้าใจและเข้าถึงจิตวิญญาณดั้งเดิมของกลองสะบัดชัย ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับหลักธรรมของพุทธศาสนา โดยนำทำนองของการสวดมนต์ภาวนามากำหนดจังหวะเของการตีกลอง หัวใจสำคัญนี้ถูกถ่ายทอดและสืบทอดโดยพ่อครูมงคล เสียงชารี ศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้านล้านนา ที่ยังอนุรักษ์และรักษาไว้ให้เยาวชนผู้สนใจทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้ศึกษา

ขอบคุณข้อมูล: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สอบถามข้อมูล: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร.053-885881

Let's block ads! (Why?)



"แบบดั้งเดิม" - Google News
August 31, 2020 at 11:36AM
https://ift.tt/34Palbk

กลองสะบัดชัย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมศิลปะการแสดง พ่อครูมงคล เสียงชารี - เชียงไหม่นิวส์
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "กลองสะบัดชัย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมศิลปะการแสดง พ่อครูมงคล เสียงชารี - เชียงไหม่นิวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.