Search

ฟื้นวิถีชาวทุ่ง วางลันดักปลาไหล - ช่อง 7

cezhentertainment.blogspot.com
วันนี้ ทีมเช้าข่าว 7 สี จะพาไปดูอีกอาชีพ ซึ่งเป็นที่พึ่งของคนหาเช้ากินค่ำ และต้องดิ้นรนหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่ง นางศรีชา น้อยเจริญ อายุ 56 ปี ชาวบ้านในตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่จากสภาพพื้นที่ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ทำ "ลัน" เครื่องมือดักจับปลาไหลตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม

โดยนำท่อพลาสติกพีวีซี ความกว้างขนาด 2 นิ้ว นำมาดัดแปลงตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1 เมตร แล้วใช้แกลลอนน้ำมันบางส่วนนำไปตัดเป็นปากทำลิ้นในกระบอก เพื่อไม่ให้ปลาไหลที่ติดเข้าไปแล้วดันออกมาได้ แล้วใช้ไฟลนปิดท้ายให้ก้นติดกัน ซึ่งวัสดุนี้ในสมัยโบราณใช้ไม้ไผ่แต่ปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นท่อพลาสติกพีวีซี เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบากว่าไม้ไผ่ สะดวกแก่การเคลื่อนย้าย

ส่วนวิธีการดักปลาไหลนั้นให้นำหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูของนาข้าวไปทุบให้แตก แล้วนำไปใส่ในกระบอกลัน และนำลันไปวางตามแหล่งน้ำขังตามทุ่งนาที่มีปลาไหลอาศัยอยู่ โดยเอาด้านท้ายที่เจาะรูให้โผล่เหนือน้ำ เพื่อให้ปลาไหลได้กลิ่นหอยเชอรี่ และมุดเข้าไปในกระบอกลันพลาสติก โดยจะวางลันไว้ประมาณ 1 คืน พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็ไปเก็บลัน แล้วนำปลาไหลที่ติดอยู่ในลันมาทำอาหาร และส่งขายกิโลกรัมละ 180-200 บาท

อย่างไรก็ตาม การวางลันดักปลาไหล ต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร เนื่องจากพื้นที่น้ำแฉะ และน้ำขังค่อนข้างรก ซึ่งอาจจะมีสัตว์มีพิษ ทั้งงูจงอาง และงูเห่าอาศัยอยู่ อีกทั้งบางครั้งยังต้องเจอกับงูที่เข้าไปกินหอยในกระบอกลัน จึงถือเป็นอาชีพหนึ่งที่มีความสุ่มเสี่ยงในยุคโควิด-19 ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด

Let's block ads! (Why?)



"แบบดั้งเดิม" - Google News
July 03, 2020 at 10:45AM
https://ift.tt/2ZrzBQs

ฟื้นวิถีชาวทุ่ง วางลันดักปลาไหล - ช่อง 7
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ฟื้นวิถีชาวทุ่ง วางลันดักปลาไหล - ช่อง 7"

Post a Comment

Powered by Blogger.