Search

"Ripple" ยก "ไทย" ผู้นำด้านชำระเงินข้ามพรมแดนสู่มาตรฐาน ISO20022 - ประชาชาติธุรกิจ

cezhentertainment.blogspot.com

“Ripple” ยก “ไทย” ผู้นำด้านชำระเงินข้ามพรมแดนสู่มาตรฐาน ISO20022 แซงประเทศเพื่อนบ้าน มั่นใจก้าวสู่ระดับมาตรฐานการชำระเงินสากล เผยปริมาณธุรกรรมเฉลี่ย 2,000 ล้านรายการต่อปี ดันระบบชำระเงินโตพุ่ง ชี้ เร่งพัฒนาระบบสู่มาตรฐานสากล-สร้างระบบนิเวศ

นายเคลวิน ลี, Head of Southeast Asia, Ripple เคลวินประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า การชำระเงินข้ามพรมแดนนั้นยังไม่พร้อมสำหรับโลกอนาคต สำหรับภูมิภาคที่มีพลวัตเช่นเอเชียแปซิฟิก เราต่างรับรู้ได้ว่ามาตรฐานการชำระเงินในระดับสากลนั้นมีการแยกออกเป็นส่วนๆ และมีข้อจำกัดมากมาย โดยแต่ละประเทศและเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก มักมีการใช้มาตรฐานในการส่งข้อความที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีการจำกัดปริมาณข้อมูลที่สามารถส่งถึงกันได้ ส่งผลทำให้เครือข่ายนั้นเป็นระบบปิด (หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือไม่คุยกัน) ดั้งนั้น โครงสร้างข้อมูลจึงไม่เป็นรูปเป็นร่างและมีความคลุมเครือ อันนำไปสู่การเพิ่มภาระงานในการใช้คนเข้าไปช่วยระบบอีกทอดนึง และท้ายที่สุดก็ทำให้เกิด ประสบการณ์การชำระเงินที่ไม่น่าประทับใจ

สำหรับในประเทศไทยมีคนไทยประมาณ 3 ล้านคนส่งเงินกลับบ้านในแต่ละปี ซึ่งการโอนเงินไปไทยมักมีความล่าช้าและใช้เวลาราวๆ 3 วันทำการในการส่งและรับเงิน ในบางกรณีอาจใช้เวลานานกว่านั้นกว่าจะไปถึงผู้รับปลายทาง-และจำนวนเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการหักค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงมาก

อย่างไรก็ตามด้วยปริมาณธุรกรรมการโอนเงินราว 2,000 ล้านรายการที่เกิดขึ้นในเอเชียแปซิฟิกในแต่ละปี ภูมิภาคนี้ จึงรู้ซึ้งถึงคุณค่าของการกำหนดมาตรฐานและปรับตัวพร้อมเปิดรับการใช้โซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อช่วยปรับปรุงขั้นตอนในการรับ/ส่งเงินระหว่างประเทศ ทุกวันนี้การโอนเงินระหว่างประเทศสามารถทำได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มหลากหลายที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

ข้อเรียกร้องให้มีมาตรฐานสากลสำหรับการชำระเงินทั่วโลก ด้วยการระบาดของ COVID-19 เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผู้คนหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัลแทนการใช้ธนบัตรหรือเงินสด และนั่นยิ่งทำให้การชำระเงินผ่านมาตรฐานสากลมีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนทั่วทุกหนแห่ง

ISO 20022 เป็นมาตรฐานข้อความที่ใช้กันเกือบทุกธนาคาร ผู้ให้บริการรับโอนเงินหรือชำระเงิน และเคลียริ่งเฮ้าส์ เปรียบเสมือนการกำหนดภาษาที่ใช้ในการสื่อสารสำหรับการรับ/ส่งข้อความธุรกรรมทางการเงิน (เช่น ข้อมูลผู้ส่งเงินต้นทาง ข้อมูลผู้รับเงินปลายทาง เพื่อที่จะนำไปใช้ในการดำเนินธุรกรรม) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการแชร์กันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ดังนั้น มันจะช่วยก้าวข้ามข้อจำกัดในปัจจุบันเพราะสามารถรองรับการส่งข้อมูลอื่นไปพร้อมกับข้อความการชำระเงินได้จำนวนมาก ทำให้การเชื่อมโยงการชำระเงินกับระบบอื่นๆ ทั่วโลกเป็นไปอย่างราบรื่น (global intetoperability) ส่งผลให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้การจัดระเบียบข้อความภายใต้มาตราฐาน ISO20022 ยังช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานและสอดคล้องกับกฏระเบียบในการชำระเงินข้ามพรมแดน จึงส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดลวงน้อยลง การรับจ่ายเงินที่มีความโปร่งใสมากขึ้น การตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติตามกฎระเบียบก็ทำได้ดียิ่งขึ้น

ความสำเร็จของประเทศไทยในการประยุกต์ใช้มาตรฐานข้อความ ISO 20022

สำหรับการชำระเงินช่วยผลักดันให้ประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิกต่างหันมาสนใจที่จะเริ่มใช้มาตรฐานนี้เช่นเดียวกัน ประเทศไทยเข้าใจและให้ความสำคัญกับ มาตรฐานในภาคการชำระเงินมาโดยตลอด โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาระบบนิเวศการชำระเงิน ยกระดับความ สามารถในการแข่งขัน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในแต่ละกลุ่มธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้บริการการชำระเงินแบบดิจิตอลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ประเด็นหลักของเรื่องนี้ก็คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถ ทำให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนและต่อยอดนวัตกรรมและพัฒนาการเชื่อมต่อระบบการชำระเงินระหว่างประเทศให้ราบรื่น

อันที่จริงประเทศไทยอยู่ในระดับแถวหน้าของการนำมาตรฐาน ISO 20022 มาใช้ โดยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ริเริ่มโครงการระบบการชำระเงินแห่งชาติ (National Payment System: NPS) ซึ่งเราได้พัฒนาระบบการชำระเงินนี้ตามมาตรฐาน ISO 20022 และเปิดใช้งานทั่วประเทศในปี 2558 นอกจากนี้แล้วระบบ PromptPay ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการขึ้นในปี 2560 และเป็นเครือข่ายการชำระเงินภายในประเทศแบบเรียลไทม์ก็ใช้มาตรฐาน ISO 20022 อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อนำมาตรฐานสากลนี้มาใช้เพื่อรองรับปริมาณการส่งข้อมูลและการชำระเงินที่มากขึ้นของภาคธุรกิจ ก็จะทำให้ธุรกรรมดิจิทัลและกระบวนการทางธุรกิจดิจิทัลเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ริปเปิลและการมีส่วนร่วมในมาตรฐาน ISO 20022

เมื่อไม่นานมานี้หลังจากได้เข้าร่วมร่างมาตรฐาน ISO 20022 ริปเปิลได้รับโอกาสเป็นตัวแทนในการกำหนดมาตรฐาน การชำระเงินระดับโลก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมดิจิทัลและการดำเนินธุรกิจดิจิทัลให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น เราทำงานร่วมกับพันธมิตรของเราในการจัดหาระบบการโอนเงินที่สมบูรณ์แบบ มีค่าธรรมเนียมต่ำและโอนได้ไวขึ้นให้กับลูกค้าทั่วโลกของเรา เครือข่าย RippleNet ซึ่งเป็นโซลูชั่นบล็อกเชนของเราช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่ามากขึ้นในทุกครั้งที่มีการโอนเงิน และช่วยให้ผู้รับปลายทางได้รับเงินโอนเต็มจำนวนในอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด

ในฐานะสมาชิกรายแรกของ ISO 20022 ที่โฟกัสในด้าน Distributed Ledger Technology (DLT) และดำรงสมาชิกภาพระดับสูงที่เข้าร่วมในการวางมาตรฐานระดับโลกของการรับส่งข้อความอย่างสม่ำเสมอ เราจึงมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันและสนับสนุนวิวัฒนาการของมาตรฐาน ISO 20022 และเป็นตัวแทนของลูกค้ากว่า 300 รายจาก 45 ประเทศบนเครือข่าย RippleNet นอกจากนี้เรายังสามารถช่วยปรับมาตรฐาน ISO 20022 ให้สอดรับกับความต้องการรูปแบบใหม่ของลูกค้าที่ทำธุรกิจออนไลน์ นอกเหนือไปจากฟังก์ชั่นในระบบธนาคารและการส่งข้อความแบบดั้งเดิม

สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงในตลาดการชำระเงินของประเทศไทย

ในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำในประเทศ เพื่อแก้ไขต้นตอปัญหาที่ชาวไทยจำนวนมากต้องเผชิญกับขั้นตอนของการโอนเงินที่ยุ่งยากและมีค่าธรรมเนียมสูง หนึ่งในพันธมิตรของเราคือธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งเราเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกันมายาวนานและทำงานร่วมกันเพื่อพลิกโฉมรูปแบบการโอนเงินข้ามประเทศของไทย SCB และ Ripple มีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนากระบวนการโอนเงินให้รวดเร็วขึ้น คุ้มค่า และสามารถโอนได้สะดวก เพื่อมอบให้กับคนไทยทุกคน

ยกตัวอย่างเช่น ในการเปิดตัวบริการโอนเงินต่างประเทศผ่านแอปพลิเคชั่น SCB EASY เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งบริการดังกล่าวได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ออกจากการทดสอบแซนด์บ็อกซ์แล้ว บริการนี้ขับเคลื่อนโดย RippleNet ซึ่งมอบความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้าด้วยการโอนเงินแบบเรียลไทม์ คุ้มค่าเพราะผู้รับปลายทางได้รับเงินเต็มจำนวนโดยไม่มีการหักค่าธรรมเนียมธนาคารต่างประเทศและได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดี

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความร่วมมือของเราและพันธมิตรเพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงในประเทศไทย ริปเปิลและธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึงคู่ค้าของเราในระดับนานาชาติ อาทิ Azimo และ RationalFX ต่างถือโอกาสนี้ขอร่วมแสดงความใส่ใจและห่วงใยต่อลูกค้า ด้วยการการยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมธุรกรรมการโอนเงินของผู้ใช้ปลายทางลง เพื่อบรรเทาผลกระทบทางการเงินจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อไม่มีค่าธรรมเนียมลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินเต็มจำนวน

ด้วยการเป็นพันธมิตรกับธนาคารชั้นนำในประเทศเช่น SCB เราจะสามารถช่วยส่งเสริมมาตรฐานการชำระเงินระดับโลกอย่าง ISO 20022 ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้จริง ซึ่งจะช่วยปฏิรูปและทำให้อุตสาหกรรมการเงินในประเทศไทยมีมาตรฐาน การชำระเงินระดับสูง เป็นที่น่าเชื่อถือในระดับนานาชาติ

Let's block ads! (Why?)



"แบบดั้งเดิม" - Google News
June 05, 2020 at 06:27PM
https://ift.tt/30cNaFy

"Ripple" ยก "ไทย" ผู้นำด้านชำระเงินข้ามพรมแดนสู่มาตรฐาน ISO20022 - ประชาชาติธุรกิจ
"แบบดั้งเดิม" - Google News
https://ift.tt/36f79nS


Bagikan Berita Ini

0 Response to ""Ripple" ยก "ไทย" ผู้นำด้านชำระเงินข้ามพรมแดนสู่มาตรฐาน ISO20022 - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.